วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เตรียมความพร้อมก่อนสร้างบ้าน


ขั้นตอนในการดำเนินการปลูกสร้างบ้าน โดยทั่วไปจะประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆดังต่อไปนี้ตอนหลักๆดังนี้

*ขั้นตอนการเตรียมที่ดินให้พร้อมก่อนเริ่มงานก่อสร้าง จะต้องอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม ท่านต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยสมบูรณ์ หรือจะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของที่ดิน ให้ผู้รับเหมาเข้าปลูกสร้างบ้านเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน และจะต้องมีทางให้รถเข้าถึงได้โดยสะดวก ดำเนินการถมหรือปรับที่ดินให้มีระดับเรียบสม่ำเสมอก่อนที่จะเข้าไปดำเนินการก่อสร้าง จัดสถานที่ที่อยู่อาศัยของคนงานและสุขาชั่วคราว ในบริเวณเดียวกับสถานที่ก่อสร้าง ในกรณีที่ต้องมีการขออนุญาตผ่านทางเข้า–ออกเขตก่อสร้าง หรือต้องมีการเสียค่าอนุญาต หรือค่าใช้จ่ายใดๆในการผ่านทางเข้า–ออกเขตก่อสร้าง ท่านต้องรับเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาต และรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายใดๆที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น
*ขั้นตอนการพิจารณาเลือกแบบบ้าน บ้านที่ดีต้องมีพื้นที่ใช้สอยอย่างเต็มที่ และที่สำคัญต้องเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศเมืองร้อนอย่างประเทศไทย สิ่งที่ท่านควรคำนึงถึงในการเลือกแบบบ้านอย่างเหมาะสมกับที่ดิน และงบประมาณของท่านมากที่สุด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.จำนวน และ อายุ ของคนในครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว 2.การใช้ชีวิตภายในบ้าน สมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมหรือมีกิจกรรมใดบ้าง ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นตัวกำหนด การจัดวางพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน 3.สภาพของพื้นที่ สภาพของอากาศ แสงแดดส่องตรงไหนบ้าง โดยจะเป็นตัวกำหนดในการเลือกแบบบ้าน ว่าจะเป็นแบบบ้านในแนวลึก แนวกว้าง หรือ แนวสูง ทั้งหมดที่กล่าวสถาปนิกจะช่วยแนะนำท่านได้มาก
*ขั้นตอนการทำสัญญาก่อสร้างบ้าน ท่านควรสัญญาและลงนามด้วยตนเอง แต่หากท่านไม่สามารถมาด้วยตนเองได้ ท่านควรทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาทำการแทน
ขั้นตอนการเลือกวัสดุและอุปกรณ์งานก่อสร้าง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม หรือตามที่ได้มีการทำความตกลงกันไว้แ้ล้วในสัญญา
*ขั้นตอนการดำเนินงานก่อสร้างบ้าน ดำเนินการขอประปา และไฟฟ้าชั่วคราวเพื่อใช้ในระหว่างการก่อสร้าง และเริ่มงานตอกเข็ม หล่อตอม่อ ติดตั้งเสา คานสำเร็จรูป ต่อมาติดตั้ง โครงหลังคา และวางพื้นสำเร็จรูป หล่อคอนกรีตเชื่อมเสากับคานสำเร็จรูป มุงหลังคา เทพื้น ทับหน้าพื้นสำเร็จรูป เริ่มก่ออิฐผนังงานฉาบปูน แต่งแนว ตั้งวงกบและก่อสร้างเสาเข็ม จากนั้นเริ่มงานสุขาภิบาล พื้นภายนอกและงานสถาปัตยกรรมและรายละเอียดอื่นๆ อาทิ ปูกระเบื้อง งานกระจก งานบันไดฯ และหลังจากนั้นจึงจะเก็บงานส่วนที่เหลือ ได้แก่ งานติดตั้งสวิทซ์ ปลั๊ก ดวงโคม ระบบประปา สุขภัณฑ์ และท่อระบายน้ำ ลำดับถัดมาคือต้องทำความสะอาดบ้านทั้งภายนอกและภายใน
*ท้ายที่สุดคือ ขั้นตอนการตรวจสอบสภาพครั้งสุดท้าย และท่านสามารถตรวจสอบบ้านร่วมกับบริษัทรับเหมา และรับมอบบ้าน ถ้ามีการแก้ไขจะดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยจนเป็นที่พอใจ


การพิจารณาบริษัทรับออกแบบและรับสร้างบ้าน


ขั้นตอนการให้บริการอย่างครบถ้วน ของบริษัทออกแบบ และปลูกสร้างบ้านส่วนใหญ่มีมาตรฐานคล้ายๆกัน โดยจะขอสรุปให้เห็นเป็นข้อๆ ดังนี้
1. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับรูปแบบบ้านและพื้นที่ใช้สอยโดยไม่คิดค่าบริการ
2. บริษัทมีแบบบ้านมาตรฐานไว้นำเสนอลูกค้ามากมาย บางบริษัทก็ยินดีปรับปรุงแก้ไขแบบบ้าน ให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นได้
3. หลังจากตกลงทำสัญญาว่าจ้างกันแล้ว สถาปนิกจะดำเนินการออกแบบบ้านตามลำดับ ตั้งแต่งานออก แบบร่างขั้นต้นจนถึงงานจัดทำแบบก่อสร้าง โดยในแต่ละขั้นตอนสถาปนิกจะนำเสนอให้ลูกค้าอนุมัติ ด้วยเสมอ
4. เมื่อแบบก่อสร้างแล้วเสร็จ ทางบริษัทจะยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อทางราชการ รวมถึงการ ขอน้ำ ไฟ โทรศัพท์ เลขที่บ้าน และเริ่มก่อสร้างบ้านหลังจากได้รับใบอนุญาตแล้ว โดยตลอดระยะเวลา ของการก่อสร้างบ้าน ทางบริษัทจะส่งช่างควบคุมงาน (โฟร์แมน) เข้าประจำหน่วยงาน พร้อมทั้งให้วิศวกร และสถาปนิกเข้าตรวจงานเป็นประจำ
5. เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ บริษัทจะทำความสะอาดพื้นที่ทั้งหมดก่อนจะส่งมอบอาคารกับลูกค้ารวมทั้งรับการันตีผลงานตามมาตรฐานบริษัทต่อไป

สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ ฝ้าเพดาน

สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ ฝ้าเพดาน


เรื่องของฝ้าเพดานควรพิจารณาให้สามารถเปิดซ่อมแซม สิ่งต่าง ๆ เหนือฝ้าได้โดยที่ฝ้าไม่เกิดความเสียหาย ท่านอาจพิจารณาตามข้อดีข้อเสีย และรูปแบบของฝ้าเพดานแบบต่าง ๆ ที่จะเรียนชี้แจงให้ท่านทราบ ณ บัดนี้

1.ฝ้ายิบซั่ม โครงอลูมิเนียมทีบาร์ เรียบง่ายดี กันความร้อนพอได้ เปิดซ่อมแซมสิ่งของเหนือฝ้าได้ดี ซ่อมสายไฟ ซ่อมระดับฝ้าได้ สะดวกมาก ราคาถูกสุดด้วย แต่ถ้าเวลาฝนตกชื้นมาก ๆ แผ่นยิบซั่มโค้งงอบ้างเพราะความชื้น ฝ้าชนิดนี้จะมีรูอยู่หลาย ๆ จุด และบางครั้งตัดแผ่นเล็กกว่าช่องมีร่องมีรู จุดเหล่านี้ทำให้ฝุ่นทั้งหลายบนฝ้าจะทยอยร่วงลงมาให้เชยชมอยู่ตลอดเวลา หากฝ้าชนิดนี้อยู่ชายคาภายนอกอาคารแล้วล่ะท่านเอ๋ย แผ่นฝ้าของท่านอาจจะปลิวได้ หรืออาจเกิดการเผยอของแผ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อมันอาจจะนำมาซึ่งสัตว์ทั้งหลายเช่น นก หนู งู แมลงต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อสัตว์เหล่านี้เข้าจากฝ้าภายนอกได้แล้ว มันก็เข้าบ้านเราได้ โดยที่ลอดตามรูฝ้าลงมานั่นแหละ น่ากลัวเหมือนกัน จำไว้ว่าถ้าสัตว์ต่าง ๆ เข้ามาบนฝ้าได้ มันก็ลงมาในห้องได้เช่นกัน ฝ้าชนิดนี้ขึ้นไปเดินไม่ได้นะ ทำได้แค่โผล่หัวขึ้นไปปฏิบัติงานเท่านั้นเอง เอาตัวขึ้นไปทั้งตัวไม่ได้ เพราะโครงสร้างบอบบางมากแค่รับแผงฝ้าไม่ให้ร่วงเท่านั้นเองครับ


2.ฝ้ายิบซั่มฉาบเรียบ โครงเหล็กชุบสังกะสี เป็นฝ้าชนิดเบา เรียบร้อย สวยงามกันความร้อนได้ดี มิดชิดดี ควรมีช่องเจาะไว้เป็นจุด ๆ พอที่จะโผล่ตัวขึ้นไปซ่อมแซมได้ ฝ้าชนิดนี้เอาตัวขึ้นไปทั้งตัวไม่ได้ รับน้ำหนักเฉพาะฝ้าเท่านั้น ฝ้าชนิดนี้ป้องกันสัตว์ทั้งหลายที่ผลัดหลงเข้ามาอยู่บนฝ้าเราไม่ให้ลงมาในห้องเราได้ ราคาสูงกว่าฝ้ายิบซั่มทีบาร์เล็กน้อยเอง ฝุ่นทั้งหลายที่อยู่บนฝ้าก็ไม่ค่อยจะมารบกวนดีมั้ยครับ แต่การซ่อมแซมสิ่งใด ๆ เหนือฝ้ากระทำได้ลำบาก และถ้าหลังคารั่วลงฝ้าล่ะก็ท่านเอ๋ย ฝ้าของท่านจะเป็นคราบ ขึ้นรา และพังในที่สุด ตอนนี้แหละงานช้างจริง ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มันมีอยู่บนฝ้ามาเนิ่นนาน แต่ไม่เคยมารบกวน ตอนนี้มันจะพรั่งพรูมากันโดยทั่วหน้าและโดยพร้อมเพรียงกันทีเดียว ดังนั้นต้องมั่นใจในหลังคา หรือมีผู้รับเหมาทำฝ้าอยู่ใกล้ ๆ บ้าน หรือท่านต้องหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับฝ้าบ่อย ๆ ถ้าเริ่มเห็นมีคราบน้ำ หรือเห็นว่าเปียกชื้น ต้องรีบพิจารณาซ่อมหลังคาทันที มิฉะนั้นงานช้างจะมาหาท่าน


3.ฝ้ายิบซั่ม โครงไม้ 1.1/2″ X 3″ ระยะห่าง 0.60 ม. เป็นฝ้าชนิดหนัก จะฉาบเรียบ หรือตีเว้นร่องก็ได้ สวยทั้งนั้น กันความร้อนดี ฝ้าแข็งแรง ขึ้นไปซ่อมได้ทั้งตัว เดินบนโครงฝ้าได้ ค่าใช้จ่ายสูงกว่า ใช้เวลามากกว่าฝ้าในข้อ 1 และ 2 ส่วนข้อเสียอื่น ๆ ก็ คล้าย ๆ กับฝ้ายิบซั่มฉาบเรียบ ต้องหมั่นสังเกตการรั่วซึมให้ดีนะครับ


4.ฝ้าไม้อัด โครงไม้ 1.1/2″ X 3″ ระยะห่าง 0.60 ม. เป็นฝ้าชนิดหนัก ตีเว้นร่องได้สวย กันความร้อนไม่ค่อยดี แพงกว่า ยิบซั่ม ขึ้นไปซ่อมได้ทั้งตัว เดินบนโครงฝ้าได้ ค่าใช้จ่ายสูงกว่าวัสดุยิบซั่ม ใช้เวลามากกว่าฝ้าในข้อ 1 และ 2 การรั่วซึมของหลังคาไม้อัดจะทนน้ำได้นานกว่ายิบซั่ม อาจจะออกอาการบวมขึ้นมา ตามแต่ปริมาณน้ำที่มาอุดหนุน แต่ยิบซั่มทนไฟ ทนปลวกได้นานกว่าไม้ นะครับ


5. ฝ้ากระเบื้องแผ่นเรียบ 4 มม. โครงไม้ 1.1/2″ X 3″ ระยะห่าง 0.60 ม. เป็นฝ้าชนิดหนัก ตีเว้นร่องได้สวย กันความร้อนได้ปานกลาง ขึ้นไปซ่อมได้ทั้งตัว เดินบนโครงฝ้าได้ ราคาถูกกว่าวัสดุยิบซั่ม ทนน้ำ ทนปลวก ทนไฟ ใช้เวลาในการทำพอ ๆ กันกับฝ้าในข้อ 3 และ ข้อ 4 แข็งเปราะแตกง่าย แต่ส่วนมากจะนิยมใช้ เป็นฝ้าที่ห้องครัว ฝ้าที่โรงจอดรถ และฝ้าชายคาภายนอกอาคารทั้งหลาย ไม่นิยมไว้ในห้องนอน ห้องโถง ห้องทำงาน เป็นต้น ก็คงเพียงพอสำหรับงานฝ้าภายในอาคาร สำหรับงานโดยทั่ว ๆ ไป ที่ไม่พิศดาร

แนวคิดเรื่องวิธีออกแบบบ้าน

แนวคิดเรื่องวิธีออกแบบบ้าน
บ้านสำหรับชนชั้นกลางทั่วไป ที่สร้างบนที่ดินขนาด 50-150 ตร.วา มักจะเป็นบ้านจัดสรรที่ไม่มีคุณภาพ ขาดองค์ประกอบของบ้านที่สำคัญ เช่น ครัว ห้องเก็บของ โรงรถ ที่สำคัญคือร้อนและอยู่ไม่สบาย บ้านควรจะสร้างเพื่อความสุขตามอัตภาพของผู้อยู่อาศัย และความเป็นมนุษย์คือการได้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ได้สัมผัสธรรมชาติ และได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี

คุณภาพชีวิต
1. การจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน
การจัดพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นสัดส่วนสามารถลดปัญหาขัดแย้งภายในบ้านได้เช่น การดูโทรทัศน์ การฟังเพลง การทำการบ้าน การนอน การทำครัว การทานอาหาร การสังสรร หรือประหยัดพลังงานเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศ หรือป้องกันเสียงและกลิ่นรบกวน หรือป้องกันยุง พื้นที่ ที่ควรแยกเป็นสัดส่วนได้แก่• ห้องนอน • ห้องครัว • ห้องพักผ่อน • ห้องนั่งเล่น • ห้องน้ำ • และหากแยกห้องทางอาหารได้ ก็ยิ่งดี











ห้องนั่งเล่น ห้องอาหาร

2. แสงธรรมชาติ
การจัดให้ทุกพื้นที่ได้รับแสงธรรมชาติช่วยสร้างให้เกิดบรรยากาศที่น่าสบาย และลดการปิด-เปิดไฟ ที่น่ารำคาญ และไม่ประหยัด แสงธรรมชาติควรจะมาจากส่วนบนของห้องจะทำให้การกระจายแสงดี และแสงไม่จ้า ดังนั้น สีของเพดานจึงควรจะเป็นสีออกสว่างส่วนสีผนัง หากใช้สีสว่างเกินไปจะจ้า จึงควรคล้ำลงบ้าง














ตัวอย่างของการออกแบบเพดานเพื่อช่วยการกระจายแสง ตัวอย่างของการเปิดช่องแสงด้านบน

3. การระบายอากาศ
ห้องที่ควรจะใช้หลักการระบายอากาศตามธรรมชาติ ได้แก่

1. ห้องน้ำ 2. ห้องครัว 3. ห้องทานอาหาร 4. ห้องพักผ่อน

สำหรับห้องทานอาหาร หากใช้เครื่องปรับอากาศจะทำให้อาหารเย็นชืด และห้องจะมีกลิ่นเหม็น ส่วนห้องพักผ่อนหากใช้เครื่องปรับอากาศมักจะทำให้ห้องอับชื้น และมักจะเป็นห้องที่มีการเปิดประตูบ่อย บางคนอาจจะแพ้อากาศ ห้องที่เน้นการระบายอากาศ ควรจะสูง และใช้วัสดุที่ไม่สะสมความชื้น













การจัดให้ห้องน้ำติดทางเดินโล่งเพื่อการระบายอากาศ การเปิดช่องระบายอากาศในระดับต่ำเพื่อเป็นทางลมเข้า



หลักการระบายอากาศ ควรจะดำเนินการดังนี้
1. จัดสวนรอบบ้าน โดยใช้ต้นไม้ที่มีการเติบโตดี เพราะความเย็นจากต้นไม้ นอกจากจะเกิดจากร่มเงา และการระเหยของน้ำแล้ว ยังเกิดจากการดูดซับพลังงานแสงแดดเพื่อการสังเคราะห์แสงด้วย
2. ให้บริเวณโดยรอบบ้านมีการถ่ายเทอากาศปานกลาง เพื่อไม่ให้อับชื้น
3. หากมีบ่อน้ำ ต้องป้องกันไม่ให้น้ำที่ระเหยจากบ่อ เข้าบ้าน
4. ใช้การระบายอากาศ ด้วยแรงยกตัวของอากาศร้อน และใช้การระบายอากาศตามขวาง ห้องที่สูงจะช่วยในการระบายอากาศ และแยกชั้นอากาศร้อนไว้ด้านบน
5. ให้ห้องน้ำ และห้องครัวติดนอกบ้าน ประตูห้องน้ำใช้ประตูทึบ เพื่อป้องกันความชื้นเข้าบ้าน
6. ใช้พัดลมช่วย ก็สบายโขแล้ว


4. การปรับอากาศ
เยาวชนรุ่นใหม่ เกิดในโรงพยาบาลที่ใช้การปรับอากาศรถยนต์ อาคารสถานที่ต่างๆก็ใช้การปรับอากาศ จึงเป็นเหตุให้บ้าน โดยเฉพาะห้องนอน ซึ่งเป็นห้องที่คนใช้เวลาอยู่มากที่สุด ใช้เครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่ ห้องนอน จึงต้องออกแบบให้มีสภาพของห้องเย็น คือมีฉนวนป้องกันความร้อนอย่างดี จึงจะใช้เครื่องปรับอากาศเล็กนิดเดียว แล้วจะได้ไม่เปลืองไฟ ตำแหน่งของเครื่องระบายความร้อน ต้องไม่รบกวน และไม่นำความร้อนกลับเข้ามาส่วนของเครื่องเป่าลมเย็น จะต้องไม่เป่าโดนตัวให้การกระจายลมดี และทำความสะอาดได้ง่าย

ในปัจจุบันมักจะนิยมใช้เครื่องปรับอากาศสำหรับห้องนอน จึงต้องออกแบบให้ห้องนอนมีฉนวนป้องกันความร้อนและความชื้นเป็นอย่างดี เพื่อให้ขนาดของเครื่องปรับอากาศเล็ก และภาระการทำความเย็นในตอนกลางวัน และตอนกลางคืนใกล้เคียงกัน

5. การป้องกันเสียง เสียงรบกวน มักจะมาจาก

• เสียงรบกวนจากข้างบ้าน และจากถนน

• กิจกรรมในบ้าน

• เครื่องระบายความร้อน

• ห้องน้ำ ดังนั้น จึงควรป้องกันเสียงดังนี้

• ใช้หน้าต่าง ที่ไม่เปิดรับเสียงรบกวนจากภายนอกโดยตรง

• จัดแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน

• กั้นผนังห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องนอน ด้วยผนังยิปซั่มโดยใช้โครงเคร่าแยก 2 ชั้น และให้มีช่องว่างอากาศอยู่ตรงกลาง

• ตั้งเครื่องระบายความร้อน ไม่ให้เสียงรบกวนบ้านของตัวเอง และบ้านของคนอื่น

• กั้นผนังห้องน้ำยันพื้นเพดาน และใช้ประตูทึบ













ลักษณะการกั้นผนังภายในระหว่างห้องนอนเพื่อป้องกันเสียง

6.ห้องสำคัญ
อย่าลืมเตรียมห้องเหล่านี้

1. ห้องเก็บของ 2. ห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด 3. ห้องขยะหน้าบ้าน 4. โรงรถที่มีหลังคาคลุม



ทางเดินสำหรับส่วนบริการ

ห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด



การอนุรักษ์พลังงาน
1. ใช้แสงธรรมชาติ ออกแบบบ้าน โดยไม่ต้องเปิดไฟเลยในตอนกลางวัน














2. ใช้แสงไฟร่วมกัน ออกแบบให้ไฟดวงเดียว ใช้ประโยชน์ได้ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ส่วนกลาง

3. ใช้การระบายอากาศธรรมชาติ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ

4. ใช้เครื่องปรับอากาศเท่าที่จำเป็น อาจจะเปิดเครื่องปรับอากาศเฉพาะห้องนอน โดยเน้นการสร้างห้องนอนให้มีสภาพคล้ายตู้เย็น เทคโนโลยีของฉนวนป้องกันความร้อนในปัจจุบันดีมาก และจะต้องมีทั้งฉนวนป้องกันความชื้นกับฉนวนป้องกันความร้อน หากหลังคามีระบบฉนวนที่ดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีฝ้าเพดานอีก

5. ไม่ใช้หม้อน้ำร้อนไฟฟ้า เครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่กินไฟมาก เครื่องระบายความร้อนที่มีชุดทำน้ำอุ่นก็พอใช้ได้ หรือจะใช้เครื่องทำความร้อนด้วยแสงอาทิตย์ก็ได้ แต่ถ้าใช้น้ำบาดาลก็ควรจะมีเครื่องทำน้ำอ่อนด้วย

6. ใช้การตากผ้า และไม่ใช้ตู้อบผ้า จัดหาที่ตากผ้าไว้ และอย่าแก้ปัญหาด้วยตู้อบผ้าไฟฟ้า ประเทศไทยมีแดดเหลือเฟือ แดดรำไรก็ยังใช้ได้ ถ้าระบายอากาศได้ดี


งานระบบ
1. ถังน้ำ วางถังน้ำลอยบนพื้น ดีกว่าฝังดินเพราะมักจะรั่วแล้วไม่รู้ และปั๊มน้ำจะทำงานได้ดีกว่า เนื่องจากระดับที่สูงกว่าตัวปั๊ม

2. การระบายน้ำ ระดับบ้านควรจะสูงกว่าระดับถนนประมาณอย่างน้อย 1 เมตร จะทำให้การระบายน้ำสะดวก ทั้งสวน ห้องน้ำซักล้าง





3. ช่องท่อ เอาไว้ติดนอกบ้าน หรือไว้ในที่ ที่ซ่อมได้

4. ถังบำบัดน้ำเสีย ใช้ถังบำบัดสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน และใช้ถังดักไขมันจากครัว
5. รางน้ำฝน ใช้รางน้ำฝนเฉพาะเมื่อต้องการป้องกันน้ำฝนจากชายคา และรางน้ำฝนจะต้องสามารถทำความสะอาดได้

การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน


การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน


ข้อมูลและรูปจาก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
การออกแบบ " บ้าน " ให้ประหยัดพลังงาน การออกแบบ " หน้าต่าง และกันสาด " ให้ประหยัดพลังงาน การประหยัดพลังงานภายใน " บ้าน " การประหยัดพลังงานแสงอาทิตย์กับ " บ้าน "


การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน

• ปลูกต้นไม้ทรงสูงเพื่อบังแสงอาทิตย์ โดยที่จะต้องให้มีกระแสลมเย็นพัด ผ่านใต้พุ่มใบในความเร็วที่พอเหมาะ เพื่อลดอุณภูมิภายนอกใกล้บริเวณบ้านและ ป้องกันลมพัดผ่านเข้าตัวบ้านมากเกินไป โดยควรปลูกต้นไม้ในทิศตะวันออกและ ทิศตะวันตก
• ควรเลือกชนิดต้นไม้ที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นร่มเงาที่มีอยู่ตามท้องถิ่นเช่น ต้นปีบ ต้นอินทนิล ต้นสัตบัน ต้นสุพรรณิกา เป็นต้น เพื่อลดการใช้ปุ๋ย ยาฆ่า แมลงการดูแลรักษา เนื่องจากต้นไม้เหล่านี้มีความเคยชินกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศในประเทศไทยอยู่แล้ว
• นำหลักภูมิสถาปัตย์มาใช้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมรอบๆ บริเวณบ้านให้ เย็นสบาย โดยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกหญ้า จัดแต่งสวน จัดทำน้ำตกจำลอง เป็นต้น
• ถมดินบริเวณรอบบ้านให้สูง เพื่อให้พื้นและผนังบางส่วนต่ำกว่าดิน ทำให้สามารถนำความเย็นจากดินมาใช้ และปลูกไม้พุ่มบริเวณผนังบ้าน
• ในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด อาจจะปลูกต้นไม้ดัด หรือไม้เลื้อยตามระเบียงหรือรั้ว เพื่อลดลมร้อนพัดผ่านเข้าตัวบ้าน และลดความแรงของแสงแดดที่ ส่องผิวอาคาร
• ทำรางน้ำและท่อระบายน้ำจากหลังคา หรือส่วนต่างๆ ภายในบ้านให้ เหมาะสม เพื่อป้องกันความชื้นซึมเข้าไปในบ้าน หรืออาจจะทำท่อระบายน้ำที่ได้จาก การซักล้างไปใช้รดน้ำต้นไม้
• ถ้าต้องการทำที่จอดรถ ควรทำที่จอดรถพร้อมหลังคาในด้านทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก เพื่อเป็นการช่วยลดความร้อนผ่านเข้ามาในตัวบ้านโดยตรง
• บุฉนวนกันความร้อนที่หลังคาและผนัง โดยความหนาของฉนวนที่ใช้ต้อง ขึ้นอยู่กับภาระทำความเย็น แต่ส่วนใหญ่ใช้ฉนวนที่มีความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว (50-75 มม.) ฉนวนสำหรับหลังคาและผนังมีหลายชนิด ได้แก่ ฉนวนใย แก้ว ฉนวนเยื่อกระดาษ ฉนวนเซรามิก
• ทาสีผนังด้านนอกของบ้านเป็นสีอ่อน ใช้วัสดุที่มีผิวมันและกันความชื้น
• ใช้กระเบื้องหลังคาสีอ่อน เพื่อสะท้อนความร้อนได้ดี
• สำหรับผนังด้านที่มีระเบียงยื่น ควรเลือกใช้ประตูหรือหน้าต่างชนิดบานพลิกซึ่งสามารถควบคุมปริมาณลมได้ดีกว่าการใช้ประตูหรือหน้าต่างชนิดบานเลื่อน
• ติดตั้งหน้าต่างกระจกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น โดยให้เพียงพอในการรับแสงสว่างจากธรรมชาติ และควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก
• ทำกันสาดให้กับหน้าต่างกระจก โดยกันสาดแนวราบเหมาะสมกับหน้าต่าง ที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ เพราะสามารถบังแสงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงและช่วง บ่าย ส่วนกันสาดแนวดิ่งเหมาะสมกับหน้าต่างที่อยู่ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
• ติดตั้งผ้าม่านหรือมู่ลี่บริเวณหน้าต่างกระจก เพื่อป้องกันความร้อนจากแสง อาทิตย์เข้าภายในตัวบ้าน ส่วนการติดฟิล์มกรองแสงที่กระจกหน้าต่างนั้น แม้จะป้องกัน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม
• สำหรับห้องนอนหรือห้องที่ต้องการปรับอากาศที่ตั้งอยู่บริเวณชั้นสองเหนือ บริเวณที่จอดรถหรือระเบียง ควรมีการทาหรือพ่นฉนวนที่ฝ้าเพดานของที่จอดรถ หรือระเบียงนั้นๆ เพื่อป้องกันการนำความร้อนจากภายนอกผ่านใต้พื้นห้องเข้า สู่ตัวห้อง
• ติดตั้งพัดลมระบายอากาศบนหลังคา เพื่อดูดอากาศร้อนใต้หลังคาออกไป ภายนอก
• ทำระเบียงยื่นพร้อมติดกันสาดในทิศตะวันออกและทิศตะวันตก สำหรับใช้ เป็นที่นั่งทานอาหารว่างหรือใช้ทำครัวนอกบ้านแล้วยังช่วยลดความร้อนเข้ามา ในบ้านอีกด้วย
• อุดรอยรั่วด้วยซีเมนต์หรือซิลิโคน (Silicone) ที่ช่องติดตั้งโคมไฟ ช่องติด ตั้งพัดลมเพดาน ช่องที่เตรียมไว้สำหรับเดินท่อน้ำ เป็นต้น เพื่อป้องกันความ ร้อนจากภายนอกผ่านเข้าช่องเพดาน
• อุดรอยรั่วตามรอยต่อ ระหว่างผนังขอบประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันความ ร้อนและความชื้นจากภายนอกผ่านเข้าไปในบ้าน ในกรณีที่ห้องนั้นเป็นห้อง ปรับอากาศ
• จัดวางตู้และชั้นวางของให้เหมาะสม ไม่บังลม ไม่กีดขวางการระบาย อากาศ และไม่บังแสง• จัดวางโต๊ะเขียนหนังสือให้หันหน้าไปในผนังด้านที่รับแสงธรรมชาติได้
• หมั่นดูแลรักษาทำความสะอาด พรม ผ้าม่าน โซฟา ไม่ให้เปียกชื้น เพื่อลดภาระทำความเย็นเนื่องจากความร้อนแฝง
• จัดแบ่งห้องใช้สอยโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน โดยจัดห้องที่ใช้ ตอนเช้าอยู่ในทิศตะวันออก ส่วนห้องที่ใช้สอยเกือบทั้งวันให้อยู่ทิศเหนือ เพราะจะเย็นสบายที่สุด เช่น ห้องนั่งเล่นอยู่ในทิศเหนือ เป็นต้น
• ควรติดตั้งคอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศในที่ร่ม หรือใต้ต้นไม้ และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมเข้าและออกจากคอนเดนเซอร์ ในด้านทิศ เหนือของบ้านเป็นด้านที่เหมาะสมที่จะติดตั้งคอนเดนเซอร์มากที่สุด แต่ถ้าไม่ สามารถติดตั้งในด้านทิศเหนือก็สามารถติดทางทิศใต้ที่มีกันสาดแทนได้
• ควรติดตั้งคอนเดนเซอร์ในที่ๆ สามารถดูแลบำรุงรักษาสะดวก และใน ที่ๆ ไม่ส่งเสียงรบกวนเข้ามาภายในห้อง
• ควรติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ภายในห้องปรับอากาศ ให้เหมาะสม คือ ไม่ควรโดนแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะจะทำให้เทอร์โมสตัท อ่านค่าผิดพลาด และควรติดตั้งในบริเวณที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้ง่ายและ และสะดวกต่อการปรับตั้งค่าอุณหภูมิตามต้องการ
• ควรติดตั้งเครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า ในบริเวณที่ไม่ปรับอากาศและเปิดโล่ง เช่น ที่จอดรถ ระเบียงนอกบ้าน เพื่อระบายความร้อนและลดความชื้นที่ปลด ปล่อยมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ แต่ถ้าต้องติดตั้งในห้องปิด ควรจะต้องติด ตั้งพัดลมระบายอากาศ เพื่อป้องกันการสะสมความร้อนและความชื้นภายในห้อง
• พิจารณาทำห้องครัวให้อยู่นอกตัวบ้าน แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ห้องครัวที่อยู่ ภายในตัวบ้านควรมีการระบายความร้อนที่ดี เพราะห้องครัวมักประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด เช่น เตาอบ เตาหุงต้ม กาต้มน้ำร้อน ตู้เย็น ซึ่งเป็น แหล่งปลดปล่อยความร้อนที่สำคัญ
• ติดตั้งเครื่องดูดกลิ่นหรือดูดควันใบริเวณที่ทำการหุงต้มและอากาศ ที่ใช้กับเครื่องดูดกลิ่นหรือดูดควันนี้ ควรมาจากภายนอกบ้านไม่ควรใช้อากาศ เย็นจากเครื่องปรับอากาศโดยตรง
• เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง นอกจากจะประหยัด พลังงานจากตัวมันเองแล้ว ยังลดความร้อนที่ถูกปล่อยออกมาในเวลาใช้งาน อีกด้วย เช่น ใช้ตู้เย็นประสิทธิภาพสูง ใช้หลอดไฟประสิทธิภาพสูง เป็นต้น

การออกแบบ "หน้าต่างและกันสาด" ให้ประหยัดพลังงาน




"หน้าต่างและกันสาด"เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอาคารทุกชนิดรวมทั้งบ้านที่อยู่อาศัยทุกประเภท การออกแบบหน้าต่างและกันสาดที่ดีนั้น ต้องคำนึงถึงการลดปริมาณความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่ให้เข้าสู่อาคารน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามให้แสงธรรมชาติที่ช่วยในการมองเห็นผ่านเข้าสู่ตัวอาคารและบ้านพักอาศัยมากที่สุด ซึ่งช่วยลดการใช้ไฟฟ้าของระบบปรับอากาศและระบบแสงสว่างของอาคารและบ้านพักอาศัยลงได้หน้าต่างเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อการออกแบบอาคาร บ้าน ที่อยู่อาศัย วัตถุประสงค์เพื่อการระบายอากาศ รับแสงสว่างจากธรรมชาติ และให้เห็นทัศนียภาพภายนอก มีรูปแบบ แบ่งได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ดังต่อไปนี้

1. หน้าต่างชนิดบานเลื่อนขึ้นลง หน้าต่างชนิดนี้จะมีลักษณะสี่เหลี่ยมเลื่อนขึ้นลง ข้อเสียของหน้าต่างชนิดนี้ คือ ปิด เปิดไม่สะดวกและจะรับลมได้เพียงครึ่งหนึ่งของหน้าต่างชนิดที่สามารถเปิดได้ทั้งบาน แต่ สามารถรับแสงสว่างจากธรรมชาติได้อย่างเต็มที่

2. หน้าต่างชนิดบานเลื่อนด้านข้าง หน้าต่างชนิดนี้สามารถประหยัดเนื้อที่ภายนอกสำหรับปิดเปิดได้ แต่การเปิดจะเปิด ได้เพียงครึ่งหนึ่งของบานหน้าต่างชนิดอื่น อีกทั้งอุปกรณ์ในการติดตั้งหน้าต่างในรูปแบบนี้มี ราคาแพงเพราะต้องใช้รางเลื่อน แต่สามารถรับแสงสว่างจากธรรมชาติได้อย่างเต็มที่

3. หน้าต่างชนิดบานกระทุ้ง หน้าต่างชนิดนี้จะมีลักษณะผลักออกจากตัวกรอบหน้าต่างในเวลาเปิด และใช้แรงดึง เข้าหาตัวในกรณีที่จะปิดหน้าต่าง โดยบานพับจะอยู่ส่วนบนของบานหน้าต่าง หน้าต่างชนิดนี้ มีข้อเสียคือ เปิดปิดลำบาก และทำความสะอาดยาก แต่สามารถรับลมและแสงสว่างจาก ธรรมชาติได้ดี

4. หน้าต่างชนิดบานเปิดข้าง หน้าต่างชนิดบานเปิดข้างเป็นหน้าต่างที่นิยมโดยทั่วไปตามบ้านเรือน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบ้านไม้ โรงเรียน ประโยชน์ของหน้าต่างชนิดนี้คือปิดเปิด และทำความสะอาดง่าย สามารถรับลมและแสงสว่างจากธรรมชาติได้อย่างเต็มที่

5. หน้าต่างชนิดบานพลิก หน้าต่างชนิดนี้มีทั้งแบบบานพลิกแนวนอนและแนวตั้ง ข้อเสียของหน้างต่างชนิดนี้ คือ ง่ายต่อการรับฝุ่นตลอดเวลา และไม่สามารถติดตั้งมุ้งลวดได้ แต่สามารถรับลมและแสง สว่างจากธรรมชาติได้ดี

6. หน้าต่างชนิดบานเกล็ด หน้าต่างชนิดนี้ใช้สะดวกในด้านการเปิดรับลมจากภายนอก โดยทั่วไปบานเกล็ด มักจะเป็นกระจก ซึ่งจะมองเห็นภายนอกได้ชัดเจน แต่ถ้าเป็นบานเกล็ดทำด้วยไม้จะมอง เห็นภายนอกไม่ชัดเจน หน้าต่างชนิดนี้ไม่มีบานเปิดปิดออกสู่ภายในหรือภายนอก จึงไม่ต้อง คำนึงพื้นที่หรือบริเวณสำหรับการปิดเปิดหน้าต่าง ถ้าเป็นบ้าน อาคาร หรือห้องที่ต้องติดตั้งระบบปรับอากาศ จะต้องปิดหน้าต่างเหล่า นี้ตลอดเวลา และต้องป้องกันไม่ให้มีรอยรั่ว และที่สำคัญวัสดุที่ใช้ทำเป็นหน้าต่างต้องมีคุณ สมบัติในการป้องกันความร้อนจากภายนอกได้ดีด้วย เพราะหากมีความร้อนจากภายนอก ผ่านเข้ามาในตัวบ้านหรืออาคารที่ใช้ระบบปรับอากาศ จะทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงาน มาก เพื่อให้ภายในห้องนั้น หรือภายในอาคารเย็นตามอุณหภูมิที่เราตั้งใจไว้ จึงสิ้นเปลือง พลังงานไฟฟ้ามาก

ชนิดของหน้าต่าง หน้าต่างที่นำมาใช้ประกอบตัวอาคาร บ้านพักอาศัย สามารถแบ่งตามวัสดุที่ใช้ 2 ชนิดหลักๆ คือ ไม้และกระจก

1. หน้าต่างไม้ มักจะใช้กับบ้านพักอาศัยที่เป็นไม้ (บ้านทรงไทย) หรือใช้ตามโรงเรียน หน้าต่างชนิด นี้ใช้เป็นช่องลมในการถ่ายเทอากาศ มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนเข้ามาภายในตัวบ้าน อาคารได้ดีกว่ากระจก แต่ไม่เหมาะสมกับอาคารหรือบ้านพักอาศัยที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ เพราะจะทำให้ไม่สามารถเห็นทัศนียภาพภายนอได้ เนื่องจากต้องปิดไว้ตลอดเวลา

2. หน้าต่างกระจก หน้าต่างกระจกเป็นหน้าต่างที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในบ้านพักอาศัยและอาคาร เนื่องจากทำให้เห็นทัศนียภาพภายนอกบ้านพักอาศัยและอาคาร สามารถติดตั้งง่าย รวดเร็ว และสะดวกกว่าการก่อสร้างผนังทึบด้วนคอนกรีต ดังนั้นจึงมีการพัฒนาหน้าต่างกระจกให้ มีคุณ สมบัติด้านประหยัดพลังงาน คือ ป้องกันความร้อนได้ดีและยอมให้แสงผ่านเข้าได้มาก แต่ถ้า เป็นบ้านพักอาศัยที่ปลูกสร้างด้วยไม้ ถ้าจะติดตั้งหน้าต่างกระจกจะต้องแน่ใจว่าบ้านไม่มีรอย รั่วของอากาศ เพราะถ้าเปิดเครื่องปรัะบอากาศความเย็นที่ได้จากการปรับอากาศจะรั่วซึมออก มาภายนอก เครื่องปรับอากาศจึงต้องทำงานมากกว่าเดิมทำให้สูญเสียพลังงานไฟฟ้ามากดังนั้นในกรณีนี้ถึงแม้ว่าจะใช้หน้าต่างกระจกที่มีคุณภาพดีก็ไม่ได้ช่วยอนุรักษ์พลังงานแต่อย่างไร

กระจกที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดี

แสงอาทิตย์ได้ประมาณร้อยละ 60 โดยคุณสมบัติในการสะท้อนจะ มากกว่าการดูดกลืน และมีสีหลากหลายแปรเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวันและฤดูกาล เป็นการสร้างชีวิตชีวาให้กับตัวอาคาร กระจกชนิดนี้เหมาะสำหรับอาคารที่ใช้งานตอนกลางวัน เช่น อาคารสำนักงาน เนื่องจากคุณสมบัติการสะท้อนแสงจึงทำให้บุคคลภายนอกที่อยู่ในด้าน สว่างกว่ามองเห็นภาพภายในอาคารไม่ชัดเจน จึงช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อาศัยภาย ในอาคาร แต่ในตอนกลางคืนแสงที่เกิดขึ้นภายในอาคารจากหลอดแสงสว่างจะทำให้ผู้คนจาก ภายนอกสามารถเห็นผู้คนที่อยู่ภายในได้ชัดเจน ซึ่งในกรณีหลังนี้จะเหมาะสำหรับอาคารธุรกิจ บางประเภท เช่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร

กระจก 2 ชั้น (Low Emittance Glass) มีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนต่ำ กระจกชนิดนี้จะเป็นตัวป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์

กระจกอัจฉริยะ (Smart Glass) มีสารเคลือบผิวที่มีคุณสมบัติพิเศษในการตอบสนอง ต่อแสงที่ตกกระทบ โดยสามารถควบคุมความยาวคลื่นแสงที่ต้องการให้ผ่านกระจกได้ เช่น ให้แสงที่มีความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ผ่านเข้ามาเท่านั้น

กันสาด

กันสาดเป็นอุปกรณ์บังแสงอาทิตย์ให้กับหน้าต่าง ซึ่งสามารถป้องกันลำแสงตรง ของแสงอาทิตย์ไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้านหรือตัวอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การติดตั้งกันสาดให้กับ หน้าต่างมีทั้งในแนวราบ แนวดิ่ง และทั้งแนวราบและแนวดิ่งผสมกัน


กันสาดในแนวราบ

กันสาดในแนวราบเหมาะสมสำหรับหน้าต่างที่อยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ เพราะสามารถบังแสงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงและช่วงบ่ายได้ดี การออกแบบกันสาดสำหรับอาคารใน ประเทศไทย สามารถทำได้ดังนี้ หน้าต่างที่อยู่ด้านทิศเหนือจะใช้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในช่วงเดือนมิถุนายน เป็นค่าอ้างอิงในการออกแบบกันสาด ในเดือนมิถุนายนซึ่งเรามองเห็นดวงอาทิตย์เบี่ยงเบนมา ทางทิศเหนือมากที่สุด ดังนั้นจึงใช้ค่ามุมที่ดวงอาทิตย์ทำมุมกับแนวดิ่งของผนังอาคารเป็นตัว กำหนดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ตามตารางด้านล่าง หน้าต่างที่อยู่ด้านทิศใต้จะใช้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในช่วงเดือนธันวาคม เป็นตัวกำหนดค่าอ้างอิงในการออกแบบกันสาดตามตาราง เนื่องจากเป็นช่วงที่ เรามองเห็นดวงอาทิตย์เบี่ยงเบนไปทางทิศใต้มากที่

กันสาดในแนวดิ่ง

กันสาดแนวนี้เหมาะสมสำหรับหน้าต่างที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศ ตะวันตก เพราะสามารถบังแสงอาทิตย์ในช่วงเช้าและช่วงเย็นได้ดี แต่การออกแบบกันสาด ในแนวดิ่งเพื่อบังแสงอาทิตย์ในทุกช่วงเวลาทำได้ยาก ทั้งนี้เพราะตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ณ ประเทศไทยที่เวลาต่างๆ ในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจะมีการเบี่ยงเบนมาก แต่อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการออกแบบกันสาดแนวดิ่งสำหรับประเทศ ไทย มุมกันสาดที่เหมาะสมคือ กำหนดกันสาดในแนวดิ่งให้ทำมุมประมาณ 30 องศากับ ระนาบผนัง

กันสาดผสม

กันสาดแบบผสมเป็นกันสาดที่รวมเอาคุณสมบัติที่ดีของกันสาดในแนวราบและแนว ดิ่งมารวมกัน เพื่อให้สามารถป้องกันลำแสงตรงได้ตลอดวัน การออกแบบก็ใช้หลักเช่นเดียว กับการออกแบบกันสาดในแนวราบและแนวดิ่งมาประกอบกัน นอกจากนี้การปลูกต้นไม้เป็นกันสาดธรรมชาติอาจจะเป็นวิธีเสริมวิธีหนึ่ง ในการช่วย ลดความร้อนเข้ามาในบ้านและอาคาร โดยต้นไม้สามารถให้ร่มเงาและสามารถปรับทิศทางลม ไปในทิศทางที่ต้องการได้

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การสร้างบทความใหม่


1.ต้องเข้าให้ที่หน้าบล็อกของเรา เช่น http://ajitti.blogspot.com/พอเข้าไปแล้ว จะเห็นหน้าหลักของเรา


2. เสร็จแล้วให้ไปคลิกที่บทความใหม่

3.พอคลิกเข้าไปจะเห็นดังภาพนี้



4. ข้างในนั้นจะมีการเขียนข้อมูลได้
แบบแก้ไข Htmlแบบ เขียนเราเลือกอันนั้นก็ได้ถ้าเป็นแบบแบบแก้ไข Html จะคล้ายเว็บไซค์ จะเห็นเป็นตัวบาร์โค้ด เช่น



สามารถคลิกเข้าเชื่อมต่อกับลิงค์แต่ละภาพได้ด้วยส่วนแบบเขียนจะไม่สามารถคลิกเชื่อมต่อลิงค์ไปได้ ตอนที่เราใช้แบบเขียน จะมีรูปภาพปรากฏ มันจะขึ้นตรงการสร้างข้อมูล เช่น

5.พอเลือกได้แล้วก็หาข้อมูลใส่ และการสร้างข้อมูลใหม่สามารถ ใส่ลูกเล่นอื่นได้ด้วย เช่นแทรกแท็กตัวหนา แทรกแท็กตัวเอียง แทรกลิงค์ แทรกการยกข้อความทั้งย่อหน้า แทรกรูปภาพ แทรกวีดีโอ

6.สามารถตั้งชื่อเรื่องที่เราคิดว่าน่าสนใจ
7.สวนข้างล่างสามารถเขียนลงไปได้โดย ที่ต้องการเป็นกลุ่มเป็นกลุ่ม เช่นเราหาข้อผลไม้ได้ มะม่วง มะขาม มะยม เราสามารถจับกลุ่มนี้เข้าด้วยกันได้โดยต้องเพิ่ม เพิ่ม Gadget ป้ายกำกับ ก่อนหน้านี้แล้ว
8.สุดท้ายเราสามารถเผยแพร่ข้อความหรือบันทึกเป็นฉบับร่างก็ได้





9.เมื่อคลิกเผยแพร่บทความเสร็จแล้วก็จะได้หน้าเว็บเช่นนี้ และสามารถเข้าไปดูบล็อกที่เกิดการเปลี่ยนแปลง

10.สุดท้ายเมื่อเข้าไปดูบล็อกแล้วก็จะได้บทความที่ต้องการเผยแพร่ เช่น

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552